วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

blog Sudarat Mingruen

ชื่อ นางสาว สุดารัตน์  มิ่งเรือน
ชื่อเล่น นุช
รหัสนักศึกษา 554552151
หมู่เรียน55/98
คณะวิทยาการจัดการ
โปรแกรม นิเทศศาสตร์
สาขา วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การออกกำลังกายและบริหารร่างกายสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์

การบริหารร่างกายในขณะใช้คอมพิวเตอร์

  1. Deep Breathing หรือการทำสมาธิ
  • Deep Breathing หรือการทำสมาธิ
  • ขณะยืนหรือนั่ง
  • มือข้างหนึ่งวางไว้บนท้อง อีกครั้งหนึ่งวางไว้บนอก
  • หายใจเข้าทางจมูก
  • กลั้นไว้ 4 วินาที
  • หายใจออกทางปาก
  • ทำซ้ำๆกัน
  1. Sidebend: Neck Stretch การยืดกล้ามเนื้อคอ
  • การยืดกล้ามเนื้อคอ
  • เอียงคอไปด้านข้าง (เคลื่อนหัวให้หูไปเข้าใกล้ไหล่)
  • ค้างไว้ 15 วินาที
  • ผ่อนคลาย
  • ทำซ้ำอีกข้าง

  1. Diagonal Neck Stretch การยืดกล้ามเนื้อคอ
  • หน้าตั้งตรง ค่อยๆก้มหน้ามองกระเป๋า
  • ค้างไว้ 15 วินาที
  • ผ่อนคลาย
  • ทำซ้ำข้างละ 3 ครั้ง
  1. Shoulder Shrug ขยักไหล่
  • ขยับไหล่ขึ้นเข้าหาหูค้างไว้ 3 วินาที
  • หมุนหัวไหล่
  • ทำซ้ำ 10 ครั้ง
  1. Executive Stretch
  • นั่ง มือประสานไว้หลังศีรษะ
  • ดึงข้อศอกไปข้างหลังให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • หายใจเข้าลึกๆ เอนตัวไปข้างหลัง
  • ค้างไว้ 20 วินาที
  • หายใจออกและผ่อนคลาย
  • ทำซ้ำอีกหนึ่งครั้ง
  1. Foot Rotation ป้องกันโรคชั้นประหยัด
  • ขณะนั่ง หมุนข้อเท้าช้าๆ ทำซ้ำไปในทิศทางตรงกันข้าม
  • ทิศทางหนึ่งให้หมุน 3 ครั้ง
  • เท้าอีกข้างก็ทำเช่นเดียวกัน
  • ทำข้างละ 2 ครั้ง

  1. Wrist Stretch เหยียดข้อมือ
  • แขนเหยียดตรงไปข้างหน้า
  • ดึงมือเข้าหาตัวด้วยมืออีกข้าง ทั้งดึงขึ้นและดึงลง
  • ค้างไว้ 20 วินาที
  • ผ่อนคลาย
  • ทำซ้ำข้างละ 3 ครั้ง
  1. การนวดมือ

  • ขณะนั่งปล่อยมือข้างลำตัว สลัดมือลงอย่างช้า ทำบ่อยๆ
  • นวดผ่ามือด้วยนิ้วมือทั้งด้านในและด้านนอก ควรนวดก่อนทำงาน
  • นวดนิ้วมือโดยนวดจากโคนนิ้วไปเล็บ


อาหารที่มีประโยชน์สำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์




อาหารดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพฉันใด อาหารบำรุงสายตาก็มีความจำเป็นต่อสุขภาพสายตาที่ดีฉันนั้น การมองเห็นเป็นสิ่งที่วิเศษสุดของคนเรา สุขภาพสายตาควรได้รับการดูแลอย่างดี
ด้วยการใช้ดวงตาอย่างทะนุถนอมและรู้จักดูแลบำรุงรักษาสายตาด้วยการเลือกกินอาหารที่มีสารอาหารและวิตามินบำรุงสายตา
 

อาหารบำรุงสายตา จะมีวิตามินเอ สารอาหารที่ชื่อว่า ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) เป็นสารอาหารสำคัญในอาหารบำรุงสายตา วิตามินเอจะได้จากอาหารจำพวก ตับไก่ ตับหมู ไข่แดง ฟักทอง ฯลฯ สำหรับสารอาหารลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน(Zeaxanthin) นั้นเหมาะสำหรับคนที่ห่วงใยสุขภาพสายตาอย่างจริงจังและคนที่ทำงานโดยใช้สายตามากเช่น คนที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆในแต่ละวันหรือต้องทำงานอยู่กลางแจ้งที่มีแสงแดดจ้า คนที่ต้องขับรถกลางคืนบ่อยๆที่มักจะถูกแสงไฟรถที่วิ่งสวนมาสาดเข้าตาบ่อยๆในลักษณะเดียวกับแสงไฟแฟลชจากกล้องถ่ายรูปทำให้สายตาต้องทำงานหนักเมื่อเจอแสงสว่างในลักษณะนี้



 




 

สารอาหารลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin)นั้นจะอยู่ในจุดรับภาพของดวงตาคนเรา สารอาหารทั้งสองตัวนี้จะช่วยกรองแสงหรือป้องกันรังสีที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตา นอกจากนี้ลูทีน(Lutein) และ ซีแซนทีน(Zeaxanthin)ยังช่วยปกป้องไม่ให้เซลล์ของจอประสาทตาถูกทำลาย ดังนั้นการบำรุงรักษาสายตาทำได้โดยรู้จักเลือกกินอาหารที่มีสารลูทีน(Lutein)และซีแซนทีน(Zeaxanthin)อยู่เพื่อประโยชน์ในการบำรุงสายตา
 

 





 



อาหารที่มีลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน(Zeaxanthin) ที่ช่วยบำรุงสายตาได้แก่อาหารจำพวกพืชผักผลไม้ที่มีสีเขียวเข้มและสีเหลืองเช่น ผักคะน้า ผักปวยเล้ง ผักโขมและข้าวโพด สารอาหารที่จำเป็นในการบำรุงสายตาควบคู่ไปกับลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน (Zeaxanthin)ก็คือวิตามินเอที่ได้จากอาหารจำพวกฟักทอง
แครอท ผักตำลึง ตับหมู มะละกอ มะม่วงสุก
ผักบุ้ง ฯลฯ นอกจากนี้สารอาหารทั้งสองตัวนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต้อกระจก(Cataracts) โรคกระจกตาเสื่อม(AMD) มะเร็งเต้านมและโรคหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย


 





การดูแลรักษาสุขภาพดวงตาให้มีสุขภาพดี นอกจากจะรู้จักเลือกกินอาหารบำรุงสายตาที่มีสารลูทีน (Lutein) ซีแซนทีน (Zeaxanthin) และวิตามินเอแล้วยังมีสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปเพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพของสายตานั่นคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สายตาในการทำงานเช่น ใช้แผ่นกรองแสงกับจอคอมพิวเตอร์และปรับลดระดับแสงสว่างจากจอคอมพิวเตอร์ให้พอเหมาะอย่าให้สว่างจ้ามากเกินไป เมื่อทำงานที่ต้องใช้สายตามากๆเป็นเวลานานให้รู้จักหยุดพักสายตาบ้างสัก 3-5 นาทีแล้วค่อยกลับไปทำงานต่อ เมื่อต้องทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานานควรสวมแว่นกันแดดเพื่อลดปริมาณแสงที่จะเข้ามายังตาของเรา





 


อาหารบำรุงสายตาช่วยให้ดวงตาได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตาและการปรับพฤติกรรมการทำงานที่ต้องใช้สายตามากๆจะเป็นการป้องกันและช่วยถนอมรักษาดวงตา หากทำทั้งสองอย่างไปพร้อมกันก็เหมือนกับการบำรุงรักษาสายตาจากภายใน (กินอาหารบำรุงสายตา) และป้องกันอันตรายรบกวนกับสายตาจากภายนอก (ปรับพฤติกรรมการใช้สายตา) ซึ่งจะมีผลช่วยถนอมและรักษาดวงตาให้อยู่กับเราไปได้อีกนานเท่านาน














































ที่มา  http://www.student.chula.ac.th/~53373133/eyesfood.htm

.การดูแลสุขภาพดวงตา กับการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์

ดูแลสุขภาพตาสุขภาพตากับคอมพิวเตอร์
ชีวิตที่รีบเร่งอาจทำให้เพื่อนๆ ต้องทำงานต่อเนื่องให้เสร็จเร็วๆ
การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานนน ต้องใช้สายตามาก
ไม่ใช่แค่ทำงานนะคะ เล่นเกมส์หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอทีวีก็เช่นกัน …
กิจกรรมดังที่บอกมาแล้ว ส่งผลเสียต่อสุขภาพของดวงตาค่ะ
หากหลีกเลี่ยงการจ้องมองหน้าจอนานๆ ไม่ได้ วิธีป้องกันก็พอมี
ง่ายๆ แค่ 5 เทคนิคเพื่อดูแลสุขภาพดวงตาของเพื่อนๆ ดังนี้ค่ะ
ข้อ 1. ทุก 1 ชั่วโมงของการทำงานหน้าจอ ควรพักสายตาด้วยการทำอะไรก็ได้
ที่..ไม่ต้องมองใกล้ๆ ในระยะ 1-2 ฟุต (เช่น มองออกไปในสนามหญ้า) พยามยามมองสีเขียวของใบไม้ใบหญ้า
ประมาณ 5-10 นาที จะลดการเพ่งของสายตา และช่วยคลายอาการปวดเมื่อยล้าดวงตาได้
ข้อ 2. ไม่ควรมีแสงสว่างมากที่ด้านหลังจอ เพราะจะรบกวนการมองจอ
เช่นไม่ควรตั้งจอตรงกับหน้าต่าง (ด้วยเหตุนี้เน็ตบุคสีขาวของบางยี่ห้อจึงมีกรอบจอสีดำ)
ข้อ 3. ศีรษะควรอยู่สูงกว่าจอสักเล็กน้อย จะได้ไม่ต้องเงยหน้ามองคอมพิวเตอร์
หรือเหลือกตามองสูงขึ้นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งทำให้เมื่อยล้าได้ง่าย และเพื่อนๆ คงไม่อยาก
ให้ใครมองมาเห็นว่านั่งตาเหลือกอยู่หน้าจอนะคะ มันดูไม่เท่หรอกค่ะ
ข้อ 4. อาการปวดล้าดวงตา อาจเกิดจากการที่เพื่อนๆ มีปัญหาสายตา
เช่น สายตาเอียง สายตาสั้น และสายตายาว ให้ไปตรวจวัดสายตาดู
หากพบว่าสายตาผิดปกติ ให้ตัดแว่นมาใส่จะช่วยแก้ปัญหาได้
ข้อ 5. ถ้ามีอาการตาแห้ง เช่น แสบตา หรือเคืองตา ให้กะพริบบ่อยขึ้น
เพื่อกวาดน้ำตามาเคลือบผิวตา หรือพักการใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะ
ถ้ายังมีอาการมาก ใช้น้ำตาเทียมหยอดตาจะช่วยบรรเทาอาการได้
แต่ถ้าไม่ดีขึ้น เพื่อนๆ อาจจะเป็นโรคอื่นให้ไปพบจักษุแพทย์
เพื่อทำการตรวจรักษาแต่เนิ่น ๆ นะคะ
ดวงตาของพวกเรามีคู่เดียวงอกใหม่ไม่ได้ พึงรักษาไว้ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานกับตัวเราไปนานๆ นะคะ
ด้วยความปรารถนาดี เคยได้ยินเพลงตอนเด็ก “หูไม่หนวก ตาไม่บอด นับว่ายอด ของคนเรา”

.ภัยเทคโนโลยีต่อสุขภาพ

ภัยเทคโนโลยี" มีผลกระทบ ต่อสุขภาพ


ปัจจุบันมีการใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย ทั้งเล่นเกม พิมพ์งาน เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แต่เมื่อเทคโนโลยีมีการพัฒนาไม่หยุดนิ่ง กิจกรรมข้างต้นสามารถทำผ่านช่องทางอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต แน่นอนว่า อุปกรณ์ที่ทันสมัยหากใช้ไม่ถูกต้องเหมาะสม แทนที่จะเกิดประโยชน์ ก็อาจเกิดโทษได้

เริ่มจาก นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ จักษุแพทย์ รพ.พระนั่งเกล้า กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การทำกิจกรรมอะไรก็ตามเกี่ยวกับเทคโนโลยีจอใหญ่ จอเล็ก ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต การนั่งนาน ๆ จ้องนาน ๆ ไม่พ้นเป็นภาระดวงตา นิ้ว มือ แขน ไหล่ หลัง ก้น และขา ไม่ว่าเด็ก วัยรุ่น เยาวชน วัยกลางคน ผู้สูงอายุ หลายคนจะฝืนเพื่อความอยากรู้ อยากเห็น ด้วยความเพลิดเพลินทางอารมณ์ ต้องการรู้เหนือผู้อื่น ต้องการเป็นหนึ่งว่าข้าแน่ รู้ทุกอย่างที่คนอื่นไม่รู้ เพื่อจะเด่นในอาชีพ วิชาชีพของตนเอง จึงเป็นที่มาของโรคเงียบซึ่งเป็นภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ผลกระทบด้านร่างกาย คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับดวงตา และโรคทางกล้ามเนื้อ กระดูก ซึ่งจะทำให้มีโรคประจำตัวไปจนกระทั่งแก่เฒ่า และทำให้เป็นทุกข์ตลอดชีวิต

โรคเกี่ยวกับดวงตา การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บ เล็ต เป็นเวลานาน ถ้าระดับที่วางความสว่างไม่เหมาะสม อาจส่งผลกระทบต่อระบบของการกลอกตา ระบบกล้ามเนื้อและประสาท ซึ่งจะเกิดหลังจากใช้สายตานานผิดปกติ ทำให้เกิดอาการดวงตาล้า ดวงตาตึงเครียด ตาช้ำ ตาแดง แสบ

ข้อแนะนำ คือ ควรใช้เวลาทำงานหรือเล่นกับคอมพิวเตอร์ 25–30 นาที ในแต่ละช่วงและพัก 1–5 นาที จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น วางคอมพิวเตอร์ให้ห่างจากตาประมาณ 20–26 นิ้ว วางคีย์บอร์ดและเมาส์ให้อยู่ต่ำกว่าศอก แสงไฟไม่ควรส่องจากด้านหลัง ที่สำคัญไม่ควรส่องเข้าหาจอคอมพิวเตอร์ ควรปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้มีความสว่างเท่ากับความสว่างของห้อง ปรับความถี่ของคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับ 70–80 เฮิรตซ์ หรือปรับให้สูงสุดเท่าที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ยังรู้สึกสบายตา การใช้ตัวหนังสือควรใช้ตัวหนังสือสีดำบนพื้นสีขาว ใช้แผ่นกรองแสง และดูแลหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่ให้มีฝุ่นเกาะติด เพื่อทำให้การมองเห็นชัดเจน ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์หรือเล่นเกม ส่วน สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ก็ไม่ควรใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ควรพักสายตาเป็นระยะเช่นเดียวกัน

พญ.ดารณี สุวพันธ์ ผอ.ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงโรคทางกล้ามเนื้อ กระดูก ว่า การนั่งจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ หากนั่งในท่าไม่เหมาะสม หน้าจออยู่ต่ำกว่าระดับสายตา ต้องก้ม ๆ เงย ๆ อาจทำให้กระดูกคอเสื่อม กล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ ปวดคอ ปวดบ่า ปวดข้อมือ ปวดนิ้วมือและปวดหลังได้ ที่พบบ่อย คือ อาการปวดคอ มีอาการตึงเมื่อย เพราะอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ พบมากในคนที่ทำงานออฟฟิศต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ดังนั้นท่านั่งจึงมีความสำคัญ เวลาอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ต้องไม่ก้มหน้ามาก หน้าจอควรอยู่ในระดับสายตา ไม่อยู่ไกลสายตาจนเกินไป คีย์บอร์ดต้องอยู่ในระดับพอดี สูงกว่าเข่านิดหน่อย เพราะถ้าคีย์บอร์ดอยู่สูงเกินไป ต้องยกไหล่ขึ้น อาจทำให้ปวดเมื่อยได้

ส่วนการเล่นเกม อัพเดทข้อมูล บนสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หากอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานอาจทำให้ปวดคอ ปวดหลังได้เช่นกัน ส่วนการใช้นิ้วมือเป็นเวลานาน อันตรายส่วนนี้คงไม่มาก คือ อาจทำให้ปวดเมื่อยข้อ นิ้วมือ เท่านั้น

การรักษาคนไข้ที่มีอาการปวดหลัง ปวดคอ จะเริ่มจากซักประวัติซึ่งมักพบว่า สาเหตุมาจากท่านั่งไม่เหมาะสม ถ้าอาการไม่รุนแรงจะแนะนำวิธีปฏิบัติตัว ปรับเปลี่ยนท่านั่ง ไม่ควรนั่งนานเกิน 30 นาที ถ้าเกินกว่านี้ควรพักลุกขึ้นมายืน ขยับตัว ขยับเอว และหลัง ปรับเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ ในกรณีที่มีอาการปวดมาก ต้องให้ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาต้านการอักเสบ ถ้ากลับไปแล้วยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ เนื่องจากความเคยชิน หรือมีอาการมานาน อาจถึงขั้นต้องทำกายภาพบำบัด ซึ่งในคนมีอาการมานานแล้วการรักษาจะยุ่งยากขึ้น แต่ถ้าเพิ่งเริ่มมีอาการแล้วมาพบแพทย์เร็วการรักษาจะง่ายโดยแก้ที่ต้นเหตุ
  
“คนอายุน้อย ๆ ที่มาพบแพทย์  20-30% มักมีปัญหาจากการนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ ส่วนใหญ่ถ้ามาพบแพทย์เร็วก็จะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนท่าทาง ปรับเปลี่ยนนิสัย และจัดวางอุปกรณ์ให้เหมาะสม

ด้าน พญ.สุธีรา ริ้วเหลือง จิตแพทย์ กลุ่มงานจิตเวช สาขาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น รพ.พระนั่งเกล้า กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงผลกระทบด้านจิตใจว่า การใช้คอมพิวเตอร์ สมาร์ท โฟน แท็บเล็ต มีทั้งด้านดีและไม่ดี ด้านดี คือ ได้เปิดความรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็น เกิดกระบวนพัฒนาได้อย่างรวดเร็วทันใจ สะดวกในการค้นคว้าข้อมูล ได้สังคมเพิ่มขึ้น ทำให้มีการพัฒนาของสมอง เกิดการแก้ไขปัญหา พัฒนากระบวนการเรียนรู้ ฝึกการแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วและมีมาตรฐาน

ด้านไม่ดี คือ ใช้ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม ควบคุมไม่ได้ ตัวหมอจะห่วงเด็กหลายคนที่ยังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ เด็กจะใช้สิ่งเหล่านี้ในการเล่นเกม ค้นหาอะไรที่ไม่เหมาะสมกับวัย เช่น เรื่องเซ็กซ์ ที่สามารถรับรู้หรือเห็นข้อมูลได้ทันที หรือสามารถเห็นหน้ากันได้ แสดงออกได้เต็มที่ แบบไร้ขอบเขต ผ่านทางเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ สไกด์ นำไปสู่ปัญหาการมีเซ็กซ์ก่อนวัยอันควร และมีเรื่องยาเสพติดเข้ามาเกี่ยวข้อง

คือเด็กที่ใช้บ่อยอาจจะเก่งคอมพิวเตอร์ เก่งเรื่องเทคโนโลยี แต่อาจจะมีปัญหา เรื่องอารมณ์ ความก้าวร้าว หุนหันพลันแล่น ขาดการยับยั้งชั่งใจ เพราะไม่เคยถูกฝึก มีปัญหาติดเกม การเรียนตกต่ำ เล่นเกมมากก็มีอารมณ์ เล่นแพ้ก็หงุดหงิด ยิ่งในปัจจุบันเกมมีมากขึ้น รูปแบบค่อนข้างเหมือนจริง แม้จะมีการควบคุมแต่ระบบการควบคุมยังไม่ชัดเจน บางทีเด็กเล่นเกม พ่อแม่รู้ไม่เท่าทันก็ปล่อยลูก ซึ่งความจริงการเล่นเกมที่ไม่เหมาะสม จะทำให้เด็กเป็นคนที่ไม่มีระเบียบวินัย ไม่มีความรับผิดชอบ

เราไม่ได้ต่อต้านการเล่นเกม แต่การเล่นต้องมีกฎกติกา ก่อนที่พ่อแม่จะให้อะไรกับลูก ต้องรู้ว่าลูกรู้จักใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสมหรือไม่ มิฉะนั้นสิ่งเหล่านี้จะกลับมาทำร้ายตัวเด็กและครอบครัว ดังนั้น ก่อนซื้ออะไรให้ลูก ควรพูดคุยและทำข้อตกลงให้ชัดเจน เมื่อลูกทำผิดกฎกติกาที่คุยกันไว้ พ่อแม่จะต้องจริงจังกับกฎกติกาที่ตั้งไว้ ขณะเดียวกันก็ควรเป็นแบบอย่างสร้างวินัยในการเล่นเกมให้กับลูก ไม่ใช่ห้ามลูกเล่นแต่พ่อแม่เล่นเอง แต่ที่ผ่านมาพ่อแม่ไม่ได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้

กรณีที่เป็นผู้ใหญ่จะแตกต่างจากเด็ก เพราะผู้ใหญ่สามารถแบ่งเวลาได้ แต่เด็กไม่รู้จักการแบ่งเวลา เลิกเรียนก็จะเล่นเกมอย่างเดียว ดังนั้นการเล่นเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ เล่นเกม ของผู้ใหญ่ถ้าไม่เสียการเสียงานคงไม่เป็นไร ผลที่ตามมา คงเป็นเรื่องพฤติกรรม ที่บางคนอาจเข้าสังคมเกินไป ในขณะที่บางคนอาจแยกตัวออกมา แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงเห็นได้ชัด คือ รูปแบบของสัมพันธภาพจากเดิม การพูดคุย แบ่งปันความรู้สึก ต้องเห็นหน้ากัน แสดงสีหน้าท่าทาง นับวันจะน้อยลง

สรุปว่า คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ข้อดีก็มีมาก แต่หากหมกมุ่นกับมันจนเกินเหตุ อาจมีปัญหาสุขภาพตามมา โดยเฉพาะเด็ก ๆ อนาคตของชาติ ถ้าใช้แค่เล่นเกม หาคู่ ดูแต่หนังเอ็กซ์ น่าห่วง !?

ใช้คอมพิวเตอร์อย่างไรจึงจะปลอดภัย

 ผู้มีอาชีพที่จะต้องนั่งอยู่กับคอมพิวเตอร์ทั้งวัน มักจะเกิดปัญหากับสุขภาพหลายอย่าง ทั้งสายตา ปวดคอ ปวดหลัง

          ปัญหาทางสายตาเป็นเรื่องใหญ่  ใครที่นั่งจ้องจอคอมฯ นานกว่า 3 ช.ม. ติดต่อกัน จะทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า สายตาจะพร่า อาจปวดกระบอกตา แสบตา ตาแดง น้ำตาไหล  

วิธีแก้ปัญหา

           1. ควรตั้งจอคอมพิวเตอร์ให้ห่างอย่างน้อย 2 ฟุต ในระดับสายตาตรงหน้าพอดี  

           2. เลือกจอภาพที่มีการกระจายรังสีต่ำ รู้ได้โดยเวลาดับเครื่องไฟฟ้าสถิตจะมีน้อย ถ้ามีมากเอามือไปอังใกล้ ๆ หน้าจอ ขนจะลุก

           3. ปรับแสงให้พอรู้สึกสบายตา อาจใช้แผ่นกรองแสงสวมหน้าจอจะช่วยได้ ไฟแสงสว่างด้านหลังอาจทำให้เกิดภาพสะท้อนที่จอทำให้สายตาเสียได้  

           4. ทำความสะอาดจอภาพของคอมพิวเตอร์เสมอ

           5. ควรพักสายตาบ้าง ไม่ควรทำคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานเกิน 1-2 ช.ม. ควรพักสายตาสัก 15 นาที หรืออาจใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหมาด ๆ ปิดตาไว้ 2-3 นาที จะช่วยได้มาก

           6. พวกใช้คอนแทคเลนส์ ควรหยอดน้ำตาเทียมบ่อย ๆ

ที่มา  http://health.kapook.com/view30686.html






ที่มา  http://03surasak53.wordpress.com/2011/12/24/%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%88/


วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตและSocial Network

5 วิธีการใช้ Social Network อย่างปลอดภัย

  • Facebook
  • Twitter
  • Delicious
  • LinkedIn
  • StumbleUpon
  • Add to favorites
  • Email
  • RSS
                สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่านวันนี้นำเอาเรื่องของวิธีการใช้ โซเชียล เน็ตเวิร์ก (Social Network) อย่างปลอดภัยให้กับท่านผู้อ่านนะครับ ด้วยในครั้งก่อนเคยนำเสอนในเรื่องของ ลักษณะและรูปแบบของ Social Network ไปก่อนหน้าแล้ว Social Network มันคือ นวัตกรรมเว็บไซต์บนระบบอินเตอร์เน็ตที่รวบร่วมกลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน  รักชอบในสิ่งเดียวกัน มาเป็นกลุ่มสังคมเดี่ยวกัน (community) โดยมีหลาย ๆ แอปพิเคชั้นในการสนับสนุนการติดต่อสื่อสารกัน เช่น กระดานคอมเม้นต์ (comment wall),  ตารางการนัดหมายทำกิจกรรม, การร่วมกลุ่ม, แสดงประวัติส่วนตัว, การแลกเปลี่ยนแบ่งปันสื่อ ภาพ เสียง ลิงค์ คลิปวีดีโอ, การร่วมเล่นเกม หรือแบบทดสอบ สอบถามในกลุ่มคนนั้น ๆ
จากการใช้บริการที่กล่าวมาในตอนต้น เกิดพิษภัยจากการใช้  Social Network  แก่ผู้ใช้บริการช่วงที่ผ่านมามีมากมาย และหลายๆ เรื่องก็เกี่ยวกับเรื่องหลุดๆ ลับๆ ที่ไปโผล่อยู่บน Facebook อย่างล่าสุดมีกรณีที่ข้อมูลส่วนตัวของหัวหน้า MI6 (ต้นสังกัดของสายลับอย่างเจมส์ บอนด์) เกิดหลุดออกไปบนอินเทอร์เน็ตผ่าน Facebook  หรือ ข่าวดาราได้ถูกแฮกเกอร์ที่วางกับดักในแอปพิเคชั่นในเฟสบุ๊ค ถาม อีเมล์และพาสเวิรด์ ไปเปิดข้อมูลการติดต่อของเพื่อน หรือ ญาติสนิทไป แล้วแอบอีเมล์แจ้งญาติและเพื่อนสนิทว่ามีเรื่องเดือนร้อนทางการเงิน ให้เพื่อนและญาติ โอนเงินเข้าบัญชี (บัญชีของ แฮกเกอร์) ก็มีมาแล้ว ดังนั้นการใช้  Social network ความปฏิบัติดังนี้
(1)     ปกปิดเรื่องส่วนตัว เช่น ญาติมิตร สิ่งที่รัก คนที่รักชอบ หรือกิจกรรมที่กระทำ ไว้บ้าง อย่าบอกทุกเรื่อง การเปิดโล่งบัญชี Facebook ถือเป็นเรื่องที่เสี่ยงอย่างยิ่ง
(2)     อย่าเปิด/อนุญาติ แอปพิเคชั่นที่เราไม่แน่ใจ เพราะใน Social Network มักจะเชื่อมต่อในหลากหลายผลให้สามารถล่วงรู้กลุ่มบุคคลใดที่ติดต่อเรา รู้กิจกรรมทั้งหมดที่เราทำบน  Social Network
(3)     ให้ผู้ใช้ได้สัมผัสกันโดยไม่มีประกาศแจ้งเตือนล่วงหน้า ไม่นานมานี้ก็เพิ่งจะมีคุณสมบัติที่ติดตามการชอปปิงของผู้ใช้แล้วเผยแพร่ให้คนอื่นๆ ได้รู้กันทั่วกัน
(4)     ผู้ใช้ต้องมีวิจารณญาณที่เหมาะสม เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงต่างๆ ได้พอสมควร สำหรับมือใหม่เพิ่งหัดใช้ ต้องเข้าไปตั้งค่าความเป็นส่วนตัวได้ที่ Privacy Settings จากเมนู Settings ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนรายละเอียดในการเผยแพร่ภาพถ่าย ข้อความ ข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลการทำงานได้
(5)     ศึกษาข้อมูลและอ่านวิธีการใช้งานให้แน่ชัด หรือสอบถามจากผู้รู้ที่เชื่อถือได้ถึงข้อดีข้อเสียของ  Social Network นั้นก่อนที่จะใช้งาน
สุดท้ายนี้ผู้ใช้ Social Network ต้องเก็บเรื่องราวให้เป็นความลับ คิดหลาย ๆ ครั้งก่อนที่คุณจะเริ่มโพสต์เนื้อหาหรือรูปภาพต่างๆ อย่าลืมตั้งค่าความเป็นส่วนตัว ระบุว่าใครบ้างที่สามารถเข้ามาดูอัลบั้มภาพถ่าย วิดีโอ โพรไฟล์ สถานะการอัพเดต และอีกสารพันข้อมูลเกี่ยวกับตัวของคุณได้บ้าง คิดก่อนรับคนที่ไม่รู้จักเป็นเพื่อนการค้นหาว่าใครบ้างที่อยู่ในรายชื่อคอนแทกต์บนอีเมล์ของคุณกำลังใช้ Social Network อยู่เป็นเรื่องที่ไม่ยาก แต่ก่อนที่จะรับคนเหล่านั้นให้เป็นเพื่อนกับคุณบน Social Network อย่าลืมพิจารณาให้รอบคอบด้วย

ที่มา  http://blog.pbru.ac.th/?p=23